Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

แสดงรายชื่อประชากรและพื้นที่(หมู่บ้าน/ชุมชน)

nแสดงเลขประจำตัวประชาชน ชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่ ถนน ตามพื้นที่ที่ต้องการ
n
n
n
n
n
n
nSELECT idcard,fname,lname ,hno,road ,villcode
      FROM house,person
      WHERE house.hcode = person.hcode
                 AND house.pcucode=‘12345’
                 AND villcode=‘ppaatt00’

รายชื่อผู้มารับบริการล่าสุดระหว่างวันที่ที่กำหนด

SELECT  pid,max(visitdate),pressure
FROM visit
WHERE visitdate BETWEEN "2009-10-01" AND "2009-10-31"
GROUP BY pid
ORDER BY  pid,visitdate desc

ER-Diagram

SELECT person.pid,prename,fname,lname,visitdate
FROM person,visit
WHERE person.pid=visit.pid
             AND person.pcucodeperson=visit.pcucodeperson
             AND visitdate = 2010-02-01

สอบถามข้อมูลด้วย SQL Command

SELECT f1 ,f2,f3,….
FROM ชื่อตาราง
WHERE เงื่อนไข ;
ตัวอย่าง
SELECT idcard , fname , lname
FROM person
WHERE birth > ‘2009-01-01’ ;

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

เขียน SQL คำนวณอายุ จากวันเกิด ด้วย Mysql

เขียน SQL คำนวณอายุ จากวันเกิด ด้วย Mysql, Mssql

ในโปรแกรมที่เก็บวันเดือนปีเกิด บางครั้งเราก็อยากรู้ว่า อายุของวันเดือนปีเกิดนั้น ว่าปัจจุบันอายุเท่าไร มาดูวิธีกันเลย

การหาอายุจากวันเดือนปี เกิด

ถ้าใช้ Mysql ต่ำกว่า 4.1 ก็ลำบากหน่อย เราต้อง query ข้อมูลออกมาแล้วให้ php ช่วยคำนวนต่อ
ถ้าใช้ Mysql 4.1 หรือสูงกว่า การคำนวนอายุทำได้ง่ายดังนี้
ตามตัวอย่าง เมื่อ dob คือ field เก็บวันเดือนปีเกิด member คือชื่อตาราง
แบบแรก
SELECT  DATE_FORMAT( NOW( ) , '%Y' ) - DATE_FORMAT( dob, '%Y' ) - ( DATE_FORMAT( NOW( ) , '00-%m-%d' ) < DATE_FORMAT( dob, '00-%m-%d' ) ) AS age
FROM member
แบบที่สอง
SELECT YEAR( FROM_DAYS( DATEDIFF( NOW( ) , dob ) ) )
FROM `member`


สำหรับ Mssql ทำได้ง่ายกว่า Mysql ใน Mssql สามารถใช้
Function DATEDIFF(datepart,startdate,endate)
ตัวย่าง
DATEDIFF(year,'2000-01-30','2001-07-30');
ก็จะได้จำนวนปีออกมา
นำไปใช้ได้ผลยังไงมาคุยกันที่บอร์ดนะครับ
ปัญหาการเขียนสอบถามได้ที่บอร์ด


หมายเหตุ: เลือกใช้วิธีเขียน SQL คำนวนอายุจากวันเกิดตามความเหมาะสมนะครับ

SQL Mysql MSSQL ORACLE mindphp บันทึก คำสั่ง sql Select ข้อมูลสองตาราง Mysql ใช้ได้ กับ Sql มาตรฐาน ใช้การ Joins

คำสั่ง sql Select ข้อมูลสองตาราง Mysql ใช้ได้ กับ Sql มาตรฐาน ใช้การ Joins

สมมุต มี ตารางสองตางราง มีโครงสร้าง และข้อมูลดังนี้
Employees:
Employee_ID Name
01 Hansen, Ola
02 Svendson, Tove
03 Svendson, Stephen
04 Pettersen, Kari
Orders:
Prod_ID Product Employee_ID
234 Printer 01
657 Table 03
865 Chair 03

โดยที่ ตาราง Orders มี field Employee_ID เป็น Foreign Key เป็น Key ที่ใช้ เชื่อม ระหว่างตาราง Orders กับ ตาราง Employees โดยที่ ตารางลูกค้า(Employees) จะมี field รหัสลูกค้า(Employee_ID) เป็น keyหลัก
จากสอง ตารางดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ แบบ 1:N (One-to-Many) เนื่องจากลูกค้า 1 คนสามารถมีรายการสั่งสินค้าได้หลาย รายการ
ถ้าเราจะดึงข้อมูลจากสอง ตารางนี้มาแสดง ทำได้ สองวิธีคือ
วิธีที่ 1. ใช้การ referring จากสอง ตาราง
sql---> SELECT Employees.Name, Orders.Product FROM Employees, Orders WHERE Employees.Employee_ID=Orders.Employee_ID
อธิบาย--> เราจะใช้ Employee_ID เป็นตัวอ้างถึงจากสอง ตาราง และ การเลือก field ก็ต้องบอกด้วย ชื่อตาราง.ชื่อ field
ผล--->
Name Product
Hansen, Ola Printer
Svendson, Stephen Table
Svendson, Stephen Chair

วิธีที่ 2. ใช้การ Joins กันของ สองตาราง
Syntax---> SELECT field1, field2, field3 FROM first_table INNER JOIN second_table ON first_table.keyfield = second_table.foreign_keyfield
sql----> SELECT Employees.Name, Orders.Product FROM Employees INNER JOIN Orders ON Employees.Employee_ID=Orders.Employee_ID

อธิบาย--> เราจะใช้ INNER JOIN เข้ามาช่วยเพื่อบอกว่า เราจะเชื่อม ตารางสอง ตางราง และใช้ Foreign Key เป็นตัวอ้างถึงสองตาราง ที่มีความ สัมพันธ์ กัน
ผล-->
Name Product
Hansen, Ola Printer
Svendson, Stephen Table
Svendson, Stephen Chair

วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

คู่มือการใช้งาน Microsoft Access 2003

คู่มือการใช้งาน
Microsoft Access 2003
สารบัญ
บทที่ 1 การใช้งานเบื้องต้น 1.
บทที่ 2 การสร้าง Database 3.
บทที่ 3 การใช้งาน Table 10.
บทที่ 4 การใช้งาน Query 28.
บทที่ 5 การใช้งาน Form 38.
บทที่ 6 การใช้งาน Report 58.
บทที่ 7 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Table ด้วย Relationships 64.
บทที่ 8 เทคนิคการออกแบบ Database ที่ดี 68.
บทที่ 9 การใช้งาน Query อย่างมีประสิทธิภาพ 72.
บทที่ 10 การใช้งาน Mainform / Subform 74.
บทที่ 11 การใช้งาน Macro 76.
ภาคผนวก
Microsoft Access 2003
1
Field Name
Record
บทที่ 1 การใช้งานเบื้องต้น
รู้จักฐานข้อมูลก่อนใช้งาน Access 2003
ฐานข้อมูลทั่วไปจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนที่สำคัญคือ Field และ Record
Field : ชื่อของหัวคอลัมน์หรือชื่อประเภทของข้อมูลที่จะเก็บ เช่น ID, First Name, Last Name, Address
Record : ข้อมูลที่จัดเก็บโดยแยกเป้นประเภทของ Field ที่ได้สร้างไว้เมื่อนำทั้ง Field และ Record มา
รวมกันแล้วเราจะเรียกว่า Table โดยดูได้จากภาพตัวอย่างด้านล่าง
เรียกใช้งานโปรแกรม Microsoft Access
1. คลิกปุ่ม Start menu บนทาสก์บาร์ จากนั้นคลิกเมาส์ที่ All Program
2. คลิกเมาส์ที่ Microsoft Access หรือกรณีที่มีไอคอนของโปรแกรม Microsoft Word อยู่บน
เดสก์ทอปก็สามารถดับเบิลคลิกที่ไอคอนได้ทันที
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Microsoft Access 2003
Microsoft Access 2003
2
ออปเจ็กต่าง ๆ ใน Access 2003
Table : เป้นส่วนสำคัญที่สุดในโปรแกรม เนื่องจากมีหน้าที่จะต้องเก้บข้อมูลทั้งหมดไว้ที่ Table
Query : ใช้สำหรับสร้างเงื่อนไขเพื่อให้แสดงข้อมูลเฉพาะส่วนที่ต้องการ
Form : สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมกับผู้ใช้งาน (User Interface) เพื่อให้
ทำงานสะดวกขึ้น
Report : แสดงรายงานออกทางเครื่องพิมพ์
Macro : เพื่อช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ยาวหรือการทำงานที่ซ้ำ ๆ กันให้สั้นลง
Module : เป็นการเขียนโปรแกรมภายในโปรแกรม Access เพื่อให้งานที่สร้างนั้นมีประสิทธิภาพใน
การใช้งานมากยิ่งขึ้น
การใช้งานทูลบาร์
การเรียกใช้ทูลบาร์จะเหมือนกันกับการใช้งานโปรแกรม Microsoft Office อื่น ๆ เช่น Word, Excel หรือ
Power Point โดยเรียกจากเมนู View แล้วเลือกคำสั่ง Toolbar จากนั้นเลือกชื่อของทูลบาร์ที่ต้องการจะใช้
งานแต่จะแตกต่างตรงที่ทูลบาร์ในโปรแกรม Access จะถูกเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่กำลังใช้งานอยู่
อัตโนมัติ เช่น ขณที่ทำงานอยุ่ที่ Database Window ก็จะแสดงทูลบาร์ Database แต่ถ้าในขณะที่กำลัง
ออกแบบ Form อยู่นั้นก้จะเป็นทูลบาร์ Form Design เป็นต้น
Microsoft Access 2003
3
บทที่ 2 การสร้าง Database
สร้าง Database
กรณีเริ่มเปิดโปรแกรม Access 2003
1. คลิกเมนู File แล้วเลือกคำสั่ง New
2. คลิก Blank Document หรือคลิกที่ไอคอน
3. จะปรากฎ Task Panes ด้านขวาให้เลือก Blank database…
4. จะปรากฎไดอะล็อกบ็อกซ์ดังรูป
Microsoft Access 2003
4
5. ตั้งชื่อไฟล์ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Create
สร้าง Database ด้วย Wizard
1. คลิกเมนู File เลือกคำสั่ง New
2. เลือกแถบ On my computer…
Microsoft Access 2003
5
3. เลือกที่แถบ Database แล้วเลือกไอคอนของ Template ที่ต้องการใช้งาน แล้วคลิกปุ่ม OK
6. ตั้งชื่อไฟล์ที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Create
7. เมื่อเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการสร้าง Database Wizard โปรแกรมจะบอหให้ทราบว่าจะทำการ
เก็บข้อมูลอะไรให้บ้างในนี้หลังจากนั้นให้คลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
6
8. เลือก Field ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Next
9. เลือกรุปแบบ Form ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
7
10. เลือกรูปแบบ Report ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Next
11. ตั้งชื่อที่ต้องการให้เป็น Title ของ Database แล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
8
12. กำหนดว่าต้องการเริ่มใช้งาน Database นี้เลยหรือไม่ แล้วคลิกปุ่ม Finish จากนั้นรอสักครู่
โปรแกรมจะทำการสร้าง Database ให้
13. เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยจะได้ตัวอย่างดังภาพ เพื่อเข้าสู่การเริ่มต้น Database นี้
Microsoft Access 2003
9
การปิด Database
การปิด Database ทำได้ 2 วิธีคือ คลิกปุ่ม Close ที่หน้าต่างของ Database หรือเปิด Database อื่น ๆ
ขึ้นมา (รายละเอียดอยูในหัวข้อต่อไป) Database ที่เปิดอยุ่ก็จะถูกปิดไปโดยอัตตโนมัติ เพราะจะนั้นแสดงว่า
ในการใช้งานโปรแกรม แต่ล่ะครั้งจะสามารถเปิดได้เพียงครั้งล่ะหนึ่ง Database เท่านั้น
การเรียกใช้ Database
1. คลิกเมนู File เลือกคำสั่ง Open หรือคลิกปุ่ม Open บนทูลบาร์
2. เลือกโฟลเดอร์ที่เก้บ Database ที่ต้องการใช้งาน จากนั้นเลือก Database แล้วคลิกปุ่ม Open
Microsoft Access 2003
10
บทที่ 3 การใช้งาน Table
การสร้าง Table ด้วย Entering data
1. คลิกไอคอน Table จากแถบด้านซ้ายของ Database Windows
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ Create Table by Entering Data โปรแกรมจะทำการเปิดตารางขึ้นมา
เพื่อให้ป้อนข้อมูลในแต่ล่ะ Field
3. คลิกปุ่ม Save บนทูลบาร์ แล้วตั้งชื่อ Table ตามที่ต้องการและควรให้สอดคล้องกับข้อมูล
ใน Table นั้นๆ
4. จากนั้นปรแกรมจะถามว่าต้องการใส่ Primary Key หรือไม่ ถ้าต้องการให้คลิก Yes แต่ถ้า
ไม่ต้องการให้คลิก No ในกรณีนี้ให้คลิกปุ่ม No ไปก่อน
Microsoft Access 2003
11
5. ทั้งตารางจะมีทั้งหมด 10 Field ถ้าหากเราป้อนแค่ 6 Field โปรแกรมก็จะตัดให้เหลือแค่ 5
Field ตามตัวอย่าง
การสร้าง Table ด้วย Table Wizard
1. ขณะอยู่ที่ออปเจ๊ค Table ใน Database Windows ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Create Table by Using
Wizard
2. เลือกหมวดหมู่ของ Table ที่จะสร้างว่าเป็น Business หรือ Personal
3. เลือกประเภทข้อมูลที่จะสร้างเป็น Table จากนั้นเลือก Field ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
12
4. ตั้งชือของ Table แล้วเลือกว่าต้องการกำหนด Primary Key เลยหรือไม่ แล้วคลิกปุ่ม Next
5. ถ้ามีหลาย Table จะต้องการให้มีความสัมพันธ์กับ Table ใดหรือไม่ กรณีนี้มีเพียง Table เดียว
ให้คลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
13
6. เลือก Enter data directly into the table เพื่อที่จะเข้าไปป้อนข้อมูลใน Table ได้เลยคลิกปุ่ม
Next
Microsoft Access 2003
14
การสร้าง Table ด้วย Design View
1. ขณะอยู่ที่ออปเจ๊ค Table ใน Database Window ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ Create Table in Design view
2. ตั้งชื่อ Field ในช่อง Field Name แล้วกำหนดรูปแบบของข้อมูลที่จะจัดเก็บในช่อง Data Type
จากนั้นใส่รายละเอียดในช่อง Description และกำหนดพื้นที่หรือขนาดในการจัดเก้บข้อมูลที่ Field
Properties ส่วนด้านล่างของหน้าต่าง Design View
หมายเหตุ ข้อจำกัดในการสร้าง Field ห้ามเกิน 64 ตัวอักษร ห้ามใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ดังนี้ ! [ ] . ‘
Microsoft Access 2003
15
คุณสมบัติของแต่ละ Field (Field Properties)
Field Size ขนาดของ ตามชนิดที่เลือกไว้ใน Data Type
Format รูปแบบของข้อมูลใน Field นั้น ๆ
Input Mask รูแปแบบที่ใช้บังคับป้อนข้อมูล เช่น กำหนดให้ป้อนได้เฉพาะตัวเลขได้ไม่เกิน 5ตัวเลข
Caption ป้ายชื่อที่ติดแทนชื่อ Field ที่หัวคอลัมนืเมื่อแสดงข้อมูลแบบ Datasheet View
Default Value การกำหนดค่าเริ่มต้น
Validation Text แสดงกรอบข้อความเมื่อข้อมูลที่ป้อนเข้าไปไม่เป็นไปตามเงื่อนไงที่กำหนดไว้ใน
Validation Rule
Required กำหนดว่าต้องป้อนข้อมูลหรือไม่
Allow Zero Length กำหนดว่าสามารถป้อนค่าว่าง (Null Value) ได้หรือไม่
แทรก Field
คลิกเมาส์ที่ Field ที่ต้องการแทรก จากนั้นคลิกปุ่ม Insert rows บนทูลบาร์
จากนั้นสร้าง Field ใหม่ในแถวว่างที่แทรกขึ้นมาได้ตามปกติ
ลบ Field
คลิกเมาส์ที่ปุ่มด้านหน้าแถวของ Field ที่ต้องการจะลบ แล้วกดแป้น Delete ที่คยืบอร์ด แถว
ด้านล่างจะถูกเลื่อนขึ้นมาแทนที่เองอัตโนมัติ
ย้าย Field
1. คลิกเมาส์ที่ปุ่มด้านหน้าแถวของ Field ที่ต้องการจะย้ายแล้วปล่อยเมาส์
2. ชี้เมาส์ไปยังปุ่มด้านหน้าแถวของ Field ที่ได้เลือกไว้ โดยจะสังเกตเห้นตัวชี้เมาส์เป็นลูกศร
3. ใช้เมาส์ลากเพื่อย้าย Field ดังกล่าวไปยังตำแหน่งที่ต้องการโดยสังเกตจากเส้นแนวนอน
Microsoft Access 2003
16
การใช้งาน Primary Key
ประโยชน์ Primary Key
1. ป้องกันการป้อนข้อมูลที่ซ้ำกัน
2. ป้องกันการเว้นว่างในการป้อนข้อมูล
3. ช่วยในการจัดเรียงข้อมูล
4. เป็น Field ที่ใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Table
ข้อกำหนด Primary Key
1. Primary Key สามารถสร้างได้จาก 1 Field หรือมากกว่า 1 Field ของ Table ได้ (Cornbination
Primary Key)
2. Table ในโปรแกรม Access สามารถมีได้เพียงแค่ 1 Primary Key ได้
วิธีกำหนด Primary Key จาก 1 Field
1. เลือก Field ที่ต้องการกำหนดให้เป็น Primary Key จากนั้นคลิกปุ่ม Primary Key บนทูลบาร์
2. เห็นว่า Field นั้น ๆ จะมีสัญลักษณ์ Primary Key เป็นรูปกุญแจอยู่ด้านหน้า
วิธีกำหนด Primary Key จากหลาย Field
1. เลือก Field ที่ต้องการ กรณีที่ Field ที่ต้องการนั้นอยูติดกันให้ใช้เมาส์ลากจากปุ่มด้านหน้าของ Field
แรกลงมาจนถึง Field สุดท้ายที่ต้องการได้เลย แต่ถ้ากรณีที่ Field ที่ต้องการไม่ได้อยู่ติดกัน ให้กดแป้น
Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์ไปยัง Field ที่ต้องการจนครบแล้วปล่อยเป้น Ctrl
2. คลิกปุ่ม Primary Key บนทลูบาร์
วิธีการยกเลิก Primary Key
1. ถ้าต้องการยกเลิก Primary Key ให้เลือก Field ที่ได้กำหนด Primary Key ไว้ในตอนแรก จากนั้นคลิก
ปุ่ม Primary Key บนทูลบาร์ซ้ำอีกครั้ง
Microsoft Access 2003
17
การจัดการกับ Table
การแก้ไขโครงสร้าง Table
1. เลือกชื่อ Table ที่ต้องการจะเข้าไปแก้ไข
2. คลิกปุ่ม Design บนทุลบาร์ของ Database Window
บันทึกโครงสร้าง
การใช้งาน Table ถ้าเป็นการป้อนข้อมูลเข้าไปใน Table โปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลที่ป้อนให้
อัตโนมัติอยู่แล้ว แต่กรณีทีมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขโครงสร้างใน Design View เรา จะต้องทำการบันทึก
เองทุกครั้งโดยคลิกที่ปุ่ม Save บนทูลบาร์
เปลี่ยนชื่อ Table
1. คลิกเมาส์ขวาตรงชื่อของ Table ที่ต้องการจะเปลี่ยน
2. เลือกคำสั่ง Rename
3.
Microsoft Access 2003
18
3. พิมพ์ชื่อใหม่ที่ต้องการแล้วกดแป้น Enter
ก๊อปปี้ Table
1. เลือก Table ที่ต้องการจะป๊อปปี้ จากนั้นคลิกเมาส์ขวาแล้วเลือกคำสั่ง Copy
2. คลิกเมาส์ตรงพื้นที่ว่างของ Table ใน Database Window แล้วเลือกคำสั่ง Paste
Microsoft Access 2003
19
3. พิมพ์ชื่อ Table ใหม่ในช่อง Table Name จากนั้นเลือกรูปแบบการก๊อบปี้ในหัวข้อ Paste
Options แล้วคลิกปุ่ม
ลบ Table
1. เลือก Table ที่ต้องการจะลบแล้วกดแป้น Delete
2. โปรแกรมจะแสดงข้อความเพื่อยืนยันการลบให้คลิกปุ่ม Yes
การป้องกันและแก้ไขข้อมูล Table
ป้องกันข้อมูล
1. คลิกเมาส์ที่บรรทัด่างต่อจากข้อมูลสุดท้าย
2. ป้อนข้อมูลในแต่ล่ะ Field ที่ต้องการ จากนั้นให้กดแป้น Enter เพื่อป้อนข้อมูลใน Field ต่อไปจนจบ
Field สุดท้ายโปรแกรมจะทำการขึ้น Record ใหม่ให้
Microsoft Access 2003
20
เลื่อนดูข้อมูล Record Navigator
เมื่อเปิด Table ขึ้นมาทำการป้อนข้อมูลจะสังเกตเห้นที่ด้านล่างของ Table นั้นจะมีปุ่มลุกศรอยู่หลายปุ่ม
ด้วยกัน เราเรียกว่า Record Navigation เพื่อใช้ในการเลื่อนดูข้อมูล โดยความหมายของแต่ละปุ่มดังนี้
เพื่อเลื่อนไปดูข้อมูลที่อยู่เรคคอร์ดแรกสุด
เพื่อเลื่อนไปดูข้อมูลที่อยุ่เรคคอร์คก่อนหน้า
แสดงลำดับที่เรคคอร์คว่าขณะนี้อยุ่ที่เรคคอร์คที่เท่าไร
เพื่อเลื่อนไปดูข้อมูลที่อยู่เรคคอร์คถัดไป
เพื่อเลื่อนไปดูข้อมูลที่อยู่เรคคอร์คสุดท้าย
เพื่อไปยังบรรทัดสุดท้ายของ Table เพื่อทำการป้อนข้อมูลใหม่เข้าไป
ยกเลิกการป้องกันข้อมูล
ในขณะที่กำลังป้อนหรือแก้ไขข้อมูลที่เรคคอร์คใดอยู่ก้ตามจะสังเกตเห้นปุ่มด้านหน้าของเรคคอร์คนั้นจะเป็น
รูปดินสอ ถ้าต้องการยกเลิกข้อมูลที่กำลังป้อนอยู่เฉพาะใน Field นั้นให้กดแป้น Esc 1 ครั้ง แต่ถ้าต้องการเลิก
การป้องกันข้อมูลทั้งเรคคอร์คให้กดแป้น Esc ตามอีกครั้ง
บันทึกข้อมูล
โดยปกติเมื่อเราป้อนข้อมูลโปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลให้อัติโนมัติ แต่กรณีที่เราป้อนกันไม่ครบทั้งหมด
ในเรคคอร์คนั้นและต้องการจะบันทึกข้อมูลสามารถทำได้โดยคลิกเมนู Records แล้วเลือกคำสั่ง Save
Record
ลบข้อมูลทั้ง Record
1 ใช้เมาส์คลิกด้านหน้าของเรคคอร์คที่ต้องการจะลบจากนั้นกดแป้น Delete ที่คีย์บอรืค
2. จากนั้นจะมีกรอบข้อความเพื่อยืนยันการลบข้อมูลให้คลิกปุ่ม Yes
Microsoft Access 2003
21
การ Import Table จากโปรแกรมอื่น
Import จากโปรแกรม Excel
1. คลิกเมนู File เลือกคำสั่ง Get External Data จากนั้นเลือกคำสั่งย่อย Import
2. เลือกประเภทของไฟล์จากช่อง File of types เป็น Microsoft Excel ( .xls )
3. เลือกชื่อไฟล์ที่ต้องการ Import เข้ามา แล้วคลิกปุ่ม Import
4. กำหนดว่าต้องการให้แถวแรกของตารางเป็น Row Heading หรือไม่
5. กำหนดว่าต้องสร้างเป็น Table ใหม่หรือต้องการจะนำข้อมูลที่ Import เข้ามาไม่ต่อกับ Table ที่มีอยู่เดิม
Microsoft Access 2003
22
6. กำหนดว่าต้องเรียงลำดับ Field ใดหรือไม่
7. เลือกรูปแบบการกำหนด Primary Key
Microsoft Access 2003
23
8. ตั้งชื่อ Table แล้วกดปุ่ม Finish
Import จากไฟล์อื่นในโปรแกรม Access
1. คลิกเมนู File เลือกคำสั่ง Get External Data แล้วเลือกคำสั่งย่อย Import
2. กำหนด File of type เป้น Microsoft Access
3. เลือกไฟล์ที่ต้องการจะ Import ข้อมูลเข้ามาแล้วคลิกปุ่ม Import
4. เลือกออปเจ็คที่ต้องการจะ Import เนื่องจากว่ากรณีที่ Import จากโปรแกรม Access ด้วยกัน
สามารถ Import ได้ทั้ง Table, Query, Form, Report, Macro หรือ Module ก็ได้
5. ถ้าต้องการกำหนดตัวเลือกอื่น ๆ ก่อน Import ให้คลิกปุ่ม Option
6. จากนั้นคลิกปุ่ม OK
Microsoft Access 2003
24
สร้าง Field แบบ Lookup Wizard
1. เปิด Table ขึ้นมาในมุมมองแบบ Design View
2. เลือก Field ที่ต้องการจะกำหนดให้เป็น Lookup Wizard
3. ที่ Data type ของ Field ให้เลือก Lookup Wizard
4. กำหนดว่าข้อมูลที่จะนำมาสร้างจะนำมาจาก Table/Query หรือจะพิมพ์ใหม่ (กรณีตัวอย่างนี้ให้
เลือกแบบพิมพ์ใหม่) แล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
25
5. พิมพ์รายการที่ต้องการจะให้เป้นตัวเลือก ดังตัวอย่าง แล้วคลิกปุ่ม Next
6. ตั้งชื่อที่จะให้แสดงที่หัวคอลัมนืของ Field นี้ (ควรให้เหมือนกับชื่อ Field)
สร้าง Field แบบ Hyperlink
Microsoft Access 2003 มีความสามารถในการจัดรูปแบบ Field แบบ Hyperlink ได้ เพื่อช่วยให้ Database
ของคุณสามารถติดต่อกับระบบ Internet หรือโปรแกรมอื่น ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการกำหนดให้ Field นั้นๆ
เป้นรูปแบบ Hyperlink ทำได้โดย
1. เปิด Table ที่จะกำหนด Field ให้เลือกรูปแบบ Hyperlink แบบ Design View
2. ที่ Data type ของ Field ดังกล่าว ให้เลือกเป็น Hyperlink หลังจากนั้นข้อมูลที่ป้อนเข้าไปใน
Field นั้นก็จะมีคุณสมบัติของ Hyperlink ที่จะติดต่อกับโปรแกรมอื่นหรือ Internet ได้
การจัดเรียงข้อมูล
เรียง 1 Field
1. เลือกคอลัมน์ของ Field ที่ต้องการจะเรียงข้อมูล
Microsoft Access 2003
26
2. คลิกปุ่ม Sort Ascending หรือ Sort Descending เหมือนการเรียง 1 Field
การค้นหาข้อมูล
1. คลิกเมส์ Field ที่ต้องการจะค้นหาข้อมูล
2. คลิกปุ่ม Find บนทูลบาร์
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการจะค้นหาในช่อง Field What
4. จากนั้นกำหนดตัวเลือกต่าง ๆ แล้วคลิกปุ่ม Find Next
5. กรณีที่ถ้าค้นหาเจอคอรืเซอร์จะไปเลือกอยุ่ตรงข้อความนั้น ๆ แต่ถ้าหไม่เจอก้จะมีกรอบ
ข้อความแสดงขึ้นมาบอก
ตัวเลือกต่าง ๆ ในการค้นหาข้อมูล
Find what ข้อมูลที่ต้องการหา
Look in Field ที่จะเข้าไปค้นหา
Matchs Whole Field จะต้องสะกดให้ครบและเหมือนกับข้อมูลใน Field
Any part of Field ไม่จำเป็นต้องสะกดให้ครบทุกตัวอักษร
Start of Field หาเฉพาะตัวอักษรที่ขึ้นต้นด้วย...เท่านั้น
Search กำหนดทิศทางในการค้นหาว่าจะให้หาย้อนขึ้นหรือลง หรือทั้งหมด
Match case รูปแบบการสะกดคำตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่จะมีผลในการค้นหา
กรองข้อมูลด้วย Filter
กรองข้อมูลจากข้อมูลที่เลือก
1. เลือกข้อมูลที่ต้องการจะกรองข้อมูล จากนั้นคลิกปุ่ม Filter by Selection โปรแกรมจะทำ
การการกรองเฉพาะเงื่อนไขที่ต้องการและแสดงผลออกมาในตาราง
Microsoft Access 2003
27
2. ถ้าต้องการยกเลิกการกรองข้อมูลให้คลิกปุ่ม Remove Filter
การกรองข้อมูลโดยกำหนดเงื่อนไขเอง
1. คลิกปุ่ม Filter by Form
2. กำหนดตัวเลือกที่จะให้เป้นเงื่อนไขในการกรองข้อมูล
3. คลิกปุ่ม Apply Filter โปรแกรมจะแสดงข้อมูลที่ถูกกรองออกมาให้ในตาราง
Microsoft Access 2003
28
บทที่ 4 การใช้งาน Query
ประโยชน์ของ Query
1. แสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ต้องการ
2. รวมข้อมูลจากหลาย ๆ Table แล้วให้แสดงข้อมูลเพียง Table เดียว
3. แสดงข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณ
4. จัดกลุ่มของข้อมูล
ประเภทของ Query
1. Dynaset Query : เป็น Query ที่สามารถป้อนหรือแก้ไขข้อมูลเข้าไป Update ใน Table ได้
2. Snapshot Query : เป็น Query ที่สามารถป้อนหรือแก้ไขข้อมูลเข้าไป Update ใน Table ได้
แต่จะสามารถคำนวณหาค่าตัวเลข หรือนำข้อความมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งไม่มีการนำผลลัพธ์ที่ได้
เข้าไปเก็บใน Table
สร้าง Select Query
1. ขณะที่อยู่ Database Window ให้เลือก Query
2. ดับเบิ้ลคลิกที่ Create query in design view
3. เลือกชื่อ Table หรือ Query ที่จะนำไปสร้าง Query (lสามารถนำ Query มาสร้าง Query อีกได้)
แล้วคลิกปุ่ม Add
4. เมื่อได้ครบตามจำนวนแล้วให้คลิกปุ่ม Close
Microsoft Access 2003
29
5. ใช้เมาส์ลากดับเบิ้ลคลิก Field ที่ต้องการแสดงผลข้อมูลลงในช่องว่างด้านล่าง โดยเรียงไป
ตามลำดับ
6. คลิกปุ่ม Run เพื่อแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขหรือ Field ที่ได้กำหนดไว้
7. ถ้าต้องการกลับไปยัง Design Query ให้คลิกปุ่ม Design View บนทูลบาร์
8. คลิกปุ่ม Save เพื่อทำการบันทึก Design Query
Microsoft Access 2003
30
กำหนดเงื่อนไขใน Query เพื่อแสดงข้อมูลที่ต้องการ
แบบที่ 1 แสดงข้อมูลเฉพาะประเภท Seafood
แบบที่ 2 ให้แสดงรายชื่อสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S
แบบที่ 3 ให้แสดงรายชื่อสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S และอยู่ในประเทสินค้า Seafood
แบบที่ 4 แสดงรายชื่อสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร S หรือสินค้าประเภท Beverages
Microsoft Access 2003
31
แบบที่ 5 แสดงประเภทสินค้า Seafood หรือ Beverages
สร้างเงื่อนไขข้อมูลประเทตัวเลข
เครื่องหมายเปรียบเทียบที่สามารถใช้ได้
> มากกว่า
< น้อยกว่า
>= มากกว่าหรือเท่ากับ
<= น้อยกว่าหรือเท่ากับ
<> ไม่เท่ากับ
Between 1 and 3 แสดงค่าตั้งแต่ 1 ถึง 3
In(1,2) แสดงค่า 1 หรือ 2
Not Seafood แสดงค่าที่ไม่ใช่ Seafood
สร้างเงื่อนไขใน Query แบบ Parameter
ข้อความที่จะกำหนดให้เป็น Parameter จะต้องพิมพ์ให้อยุ่ภายในเครื่องหมาย [] เท่านั้น และอักษรตัวแรก
จะต้องไม่เว้นวรรคกับ [ ห้ามใช้เครื่องหมาย ! หรือ . ภายใน Parameter
1. Design Query ที่ต้องการจะกำหนด Parameter
2. คลิกเมาส์ในช่อง Criteria ของ Field ที่กำหนด Parameter
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการภายในเครื่องหมาย [ ] เช่น [Enter category of products] จากนั้นคลิก
ปุ่ม Run
Microsoft Access 2003
32
4. โปรแกรมจะแสดง Input Box และมีข้อความที่ได้ตีพิมพ์ใน Parameter Query ขึ้นมาให้ ให้ทำ
กาป้อนเงื่อนไขที่ต้องการในช่องว่าง แล้วคลิกปุ่ม ok
5. จากนั้น Query ก็ทำการแสดงข้อมูลตามเงื่อนไขที่ได้พิมพ์เข้าไปใน Parameter
หมายเหตุ กรณีที่เราไม่สามารถจำชื่อเต็มที่จะใช้เป็นเงื่อนไขได้ เช่น ต้องการหาสินค้าที่อยู่ใน
หมวดหมู่ของ Beverages แต่จำไม่ได้ว่าสะกดอย่างไร จึงอยากจะพิมพ์ B* แต่ถ้าเป็น Parameter จะพิมพ์
ไม่ได้ นอกจากใน Design Query จะต้องใส่ Like หน้า Parameter นั้นๆ เช่น Like [Enter category of
product]
Microsoft Access 2003
33
สร้าง Query เพื่อให้แสดงข้อมูลเป็นช่วง ๆ
ในบางครั้งเราจำเป็นต้องการข้อมูลที่เป็นช่วงๆ โดยเฉพาะวันที่ เช่น ต้องการดูรายการตั้งแต่
01/01/39 ถึง 01/12/39 สามารถใช้ Parameter Query เป็นเครื่องมือช่วยในการป้อนเงื่อนไขได้ดังนี้
จากนั้นคลิกปุ่ม Run บนทูลบาร์ Query จะแสดง Input Box เพื่อให้ป้อนข้อมูลในช่วงแรก แล้วคลิกปุ่ม OK
ป้อนข้อมูลช่วงสุดท้ายแล้วคลิกปุ่ม OK Query จะแสดงข้อมูลที่อยู่ในเงื่อนไขของช่วงที่กำหนดไว้ให้
การ Join Table ใน Query
1. ขณะที่อยู่ใน Database Window ให้คลิกที่ Query จากนั้นเลือก Create query in design view
2. เลือกชื่อ Table ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Add หรือดับเบิลคลิกชื่อ Table ที่ต้องการได้ทันทีการ
Join Table ใน Query นั้นจะต้องมีอย่างน้อย 2 Table
3. กรณีขณะอยู่ที่ Design Query แต่ต้องการจะเพิ่ม Table ให้คลิกปุ่ม Add Table บนทูล
บาร์แล้วทำซ้ำข้อ 2
4. ถ้า Field ทั้ง 2 Table ที่เพิ่มเข้ามามีความสัมพันธ์กันอยู่แล้วจะมีเส้นโยงปรากฎขึ้นมา
5. เลือก Field จากทั้ง 2 Table ที่ต้องการจะให้แสดงข้อมูลแล้วคลิกปุ่ม Run
Microsoft Access 2003
34
ข้อกำหนดในการ Join Table
1. Field ที่จะนำมาอ้างหรือใช้เชื่อมโยงระหว่าง Table นั้นจะต้องเป็น Primary Key
2. Field ที่สัมพันธ์กันของทั้ง 2 Table จะต้องมี Data Type และ Field Size ที่เหมือนกัน
3. กรณีที่ชื่อ Field ของทั้ง 2 Table เหมือนกันโปรแกรมจะทำการเชื่อมความสัมพันธ์ให้อัตโนมัติ
ใช้งาน Simple Query Wizard
1. ขณะที่เลือก Query ใน Database window ให้คลิกปุ่ม
2. เลือก Simple Query Wizard แล้วคลิกปุ่ม OK
3. เลือกชื่อ Table / Query ที่ต้องการจำนำมาสร้าง Query จากนั้นเลือก Field ที่จะให้แสดงผล (หลังจาก
เลือก Table แรกและเลือก Field เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือก Table อื่นได้อีก) แล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
35
4. กรณีที่มีข้อมูลที่เป็นตัวเลขต้องการจะให้มีการหาผลรวมให้หรือไม่ ถ้าต้องการให้เลือก Summary
5. คลิกปุ่ม Summary Options แล้วเลือกฟังกืชันที่ต้องการให้สรุปผลตัวเลขออกมา แล้วคลิกปุ่ม OK
6. คลิกปุ่ม Next จากนั้นตั้งชื่อ Query แล้วคลิกปุ่ม Finish
Microsoft Access 2003
36
ใช้ Query เพื่อสร้างสูตรคำนวณ
1. ใน Query Design บรรทัดแรกต่อจากคอลัมน์สุดท้าย พิมพืชื่อ Field ใหม่นำหน้าตามด้วย
เครื่องหมาย : แล้วตามด้วยสูตรคำนวณ เช่น Vat : [UnitPrice] * 0.07
2. คลิกปุ่ม Run บนทูลบาร์ จะสังเกตเห้นคำว่า Vat จะปรากฎอยู่ที่หัวคอลัมน์สุดท้าย และ
ผลลัพท์จะถูกคำนวณและแสดงออกมาอยู่ในตาราง ซึ่งจะไม่สามารถแก้ไขหรือลบข้อมูลนั้นได้ แต่ข้อมูลจะถูก
ทำเปลี่ยนแปลง หรือ update ตามตัวเลขของ unitprice
3. ถ้าต้องการจัดรูปแบบของตัวเลขสามารถทำได้โดยคลิกปุ่ม Design
4. คลิกเมาส์ขวาที่ Field ที่สร้างขึ้นมาใหม่ เลือกคำสั่ง Properties ในช่อง Format เลือกรูปแบบที่
ต้องการ
Microsoft Access 2003
37
ใช้ Query ในการเชื่อมต่อข้อความ
ให้คลิกในคอลัมน์ว่าง ๆ ที่ Design Query จากนั้นพิมพ์ชื่อ Field ใหม่ที่สัมพันธ์กับข้อความตามตัวอย่าง
Product : [ProductID] & “ “& [ProductName] ซึ่งเครื่องหมาย & เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการเชื่อมต่อ
ข้อความส่วน ‘’ ‘” เป็นการเว้นวรรคระหว่างข้อความเพื่อให้ดูสวยงามนั่นเอง
Microsoft Access 2003
38
บทที่ 5 การใช้งาน Form
สร้าง Form ด้วย Wizard
1. ขณะที่อยู่ที่ Database Window ให้คลิกที่ Form จากนั้นเลือก Create form by using wizard
2. เลือกชื่อ Table หรือ Query ที่ต้องการนำมาสร้าง Form
3. เลือก Field ที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม Next
4. เลือกโครงสร้างการวางออปเจค
Microsoft Access 2003
39
5. เลือกรูปแบบ Form ที่ต้องการแล้วก็ Next
6. ตั้งชื่อ Form แล้วคลิกปุ่ม Finish
Microsoft Access 2003
40
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของ Form
Form Header & Form Footer
ใช้สำหรับแสดงข้อมูลที่หัวและท้ายของ Form ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะแสดงอยู่บนหน้าจอตลอดเวลา แต่ถ้าใน
กรณีที่มีการสั่งพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์จะเห็น Header เฉพาะหน้าแรกและ Footer ที่หน้าสุดท้ายเท่านั้น
สำหรับในบางครั้งถ้า Form Header หรือ Footer ไม่แสดงในขณะอยู่ที่ Design Form สามารถเรียกขึ้นมาแสดง
ได้จาก เมนู View แล้วเลือกคำสั่ง Form Header / Footer
Page Header & Footer
ทั้งสองส่วนนี้จะไม่นิยมแสดงใน Form แต่จะแสดงใน Report เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากว่าจะแสดงทุกๆ หน้า
ของเอกสารที่พิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์นั่นเอง ซึ่งจะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไปในเรื่องการใช้งาน Report
ป้อนและแก้ไขข้อมูลใน Form
การป้อนข้อมูลไม่ว่าจะป้อนในรูปแบบของ Datasheet View หรือแบบ Form View จะเหมือนกันทุก
ประการ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ Datasheet View จะสามารถมองเห็นได้ทีละหลายๆ เรคคอร์ด แต่ Form View
จะเห็นได้เพียงแค่ที่ละ 1 เรคคอร์ดเท่านั้น
ป้อนข้อมูลประเภทรูปภาพ
1. คลิกเมาส์ขวาในช่องที่จะป้อนข้อมูลประเภทรูปภาพ จากนั้นเลือกคำสั่ง Insert Object
2. จากนั้นเลือกรูปแบบการใส่รูป แล้วคลิกปุ่ม OK
Microsoft Access 2003
41
Create New : เมื่อต้องการสร้างรูปใหม่ จากนั้นให้เลือกโปรแกรมที่จะใช้ในการสร้างรูปภาพ
Create from File : เมื่อต้องการใส่รูปที่ได้เตรียมไว้แล้ว
3. กรณีที่เลือก Create from File ให้กำหนดตำแหน่งที่เก็บรูปภาพที่เตรียมไว้ในช่อง File หรือ
คลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกชื่อไฟล์ จากนั้นคลิกปุ่ม OK
เปลี่ยนรูปแบบ Form ด้วย AutoFormat
1. ขณะที่อยู่ที่ Form Design ให้คลิกเมนู Format จากนั้นเลือกคำสั่ง AutoFormat
2. เลือกรูปแบบของ Form ใหม่ตามที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
Microsoft Access 2003
42
จัดรูปแบบ Form ใน Design View
ในการ Design Form ออปเจ็กต่างๆ ที่ใช้ในการสร้าง Form เราจะเรียกว่า Control
เลือก Control เดียว
คลิกเมาส์ที่ Control ที่ต้องการจะสังเกตเห็นว่ามีจุดสี่เหลี่ยมปรากฎอยู่ล้อมรอบ Control นั้นๆ
เลือกหลาย Control
เลือก Control แรกที่ต้องการไว้จากนั้นกดแป้น Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์ไปยัง Control
ต่อไปที่ต้องการหรือกรณีที่ Control ที่ต้องการนั้นอยู่ติดกันสามารถใช้เมาส์ลากผ่าน Control ที่ต้องการได้เช่นกัน
จัดรูปแบบต่างๆ ของ Control
เราสามารถจัดรูปแบบหรือตกแต่งแต่ละ Control ได้จากทูลบาร์ Format โดยแต่ละปุ่มมีความหมาย
ดังนี้
ปุ่มคำสั่ง ความหมาย
เปลี่ยนรูปแบบตัวอักษร
เปลี่ยนขนาดตัวอักษร
ตัวอักษรหน้า
ตัวอักษรเอียง
ขีดเส้นใต้
ชิดซ้ายของ Control
กึ่งกลางของ Control
ชิดขวาของ Control
สีพื้นของ Control
สีของตัวอักษร
สีของเส้นขอบแต่ล่ะ Control
ขนาดของเส้นขอบ
รูปแบบของ Control
Microsoft Access 2003
43
วิธีใช้ Format Painter
1. เลือก Control ที่กำหนดให้เป็นต้นแบบ
2. คลิกปุ่ม Format painter บนทูลบาร์
3. จะสังเกตเห็นตัวชี้เมาส์จะมีสัญลักษณ์ Format Painter ที่เป็นรูปแปรงทาสีติดมาด้วย ให้นำ
เมาส์ไปคลิกที่ Control ปลายทางที่จะคัดลอกรูปแบบ Control อื่นมา
เปลี่ยนขนาดของ Control
ขณะที่เลือก Control อยู่นั้นจะเห็นมีจุดสี่เหลี่ยมอยู่รอบ Control นั้น ให้ชี้เมาส์บริเวณจุดสี่เหลี่ยมจุด
ที่ต้องการจะย่อหรือขยาย แล้วลากเมาส์ไปในทิศทางเพื่อให้ได้ขนาดของ Control ที่ต้องการ
ปรับขนาดแต่ละ Control ให้เท่ากัน
เลือก Control ที่ต้องการจะปรับขนาดให้เท่ากัน จากนั้นคลิกเมนู Format เลือกคำสั่ง Size แล้ว
เลือกตัวเลือกของการปรับขนาดตามที่ต้องการ
ย้าย Control
การย้าย Control ให้สังเกตที่ตัวชี้เมาส์เป็นหลัก คือ
กรณีที่ต้องการย้ายเพียงแค่ Control เดียว หลังจากที่เลือก Control ดังกล่าวแล้วให้ชี้เมาส์ที่จุดสี่เหลี่ยม
ซ้ายมือบนสุด ตัวชี้เมาส์จะกลายเป็นรูปนิ้วชี้แล้วใช้เมาส์ลากไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
ถ้าต้องการย้ายทีละหลาย Control หลังจากที่เลือก Control ที่ต้องการแล้วให้ชี้เมาส์ไปที่ Control ใดก็ได้ที่
เลือกไว้สังเกตตัวชี้เมาส์จะเป็นรูปมือ ให้ใช้เมาส์ลาก Control ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ
จัดแนวการวาง Control หลาย ๆ Control
ถ้าต้องการให้หลายๆ Control วางให้อยู่ในแนวที่ต้องการอย่างเป็นระเบียบสามารถทำได้โดยเลือก
Control ที่ต้องการ จากนั้นคลิกเมนู Format เลือกคำสั่ง Align แล้วเลือกแนวการวาง Control ตามที่ต้องการ
Microsoft Access 2003
44
ก๊อบปี้ Control
1. เลือก Control ต้นแบบที่ต้องการจะก๊อบปี้
2. คลิกเมาส์ขวาที่ Control ที่เลือกไว้ แล้วเลือกคำสั่ง Copy
3. คลิกเมาส์ขวาพื้นที่ว่างใน Form แล้วเลือกคำสั่ง Paste จากนั้นจัดวางให้อยู่ในตำแหน่งที่
ต้องการ
ลบ Control
เลือก Control ที่จะลบแล้วกดแป้น Delete ที่คีย์บอร์ด ถ้าต้องการยกเลิกการลบให้คลิกปุ่ม Undo
การออกแบบ Form
ประเภทของ Control
Bound Control: สามารถ Update ข้อมูลผ่าน Form ไปยัง Table ได้, มีคุณสมบัติที่จะแสดง
แหล่งข้อมูลที่นำเสนอออกมาได้คือ Control Source
Unbound Control: ไม่สามารถป้อนหรือแก้ไขข้อมูลได้ แต่จะสามารถแสดงผลลัพธ์ของข้อมูลที่
ได้มาจากการคำนวณหรือการสร้างสูตรพิเศษขึ้นมาเท่านั้นและจะไม่มีคุณสมบัติ Control Source
เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ Form
เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ Form เราจะเรียกว่า Toolbox ซึ่งสามารถเรียกใช้ได้โดยคลิกเมนู
View เลือกคำสั่ง Toolbar แล้วเลือกชื่อ Toolbox แต่จะต้องอยู่ที่ Form Design
Microsoft Access 2003
45
การเรียกหน้าต่าง Properties ของ Control
􀂃 ทุก Control จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ถ้าต้องการจะดูคุณสมบัติของ Control ใดๆ
ในขณะที่อยู่ที่ Form Design ให้ดับเบิลคลิกที่ Control นั้นได้ทันที หรือคลิกปุ่ม Properties
บนทูลบาร์ก็ได้เช่นกัน
สร้าง Control ใน Form
Label
1. ขณะอยู่ที่ Form Design ให้คลิกปุ่ม Label ที่ Toolbox
2. คลิกเมาส์ยังตำแหน่งที่ต้องการสร้าง Label ที่ต้องการใน Form
3. พิมพ์ข้อความที่ต้องการ แล้วกดแป้น Enter ที่คีย์บอร์ด
Image
1. คลิกปุ่ม Image ที่ Toolbox
2. คลิกเมาส์ตรงพื้นที่ที่ต้องการใน Form จากนั้นเลือกรูปภาพที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
Microsoft Access 2003
46
Text Box
สร้างจาก Field List
กรณีที่สร้าง Form จาก Table หรือ Query ใดจะสามารถสร้าง Textbox จาก Filed List ได้โดยคลิกที่ปุ่ม
Field List บนทูลบาร์ จากนั้นใช้เมาส์ลากชื่อ Field ที่ต้องการมาใส่ใน Formสร้างจาก Toolbox
1. คลิกปุ่ม Textbox บนทูลบาร์
2. คลิกเมาส์ใน Form ตรงตำแหน่งที่ต้องการสร้าง Textbox
3. สามารถแก้ไขข้อความที่แสดงอยู่ด้านหน้าของ Textbox โดยเข้าไปที่ Caption
Properties แล้วพิมพ์ข้อความที่ต้องการ
4. จากนั้นเข้าไปที่ Control Source Properties ของ Textbox เพื่อบอกแหล่งข้อมูลที่จะ
นำมาแสดงทางหน้าจอ หลังจากนั้นก็จะได้ Textbox ประเภท Bound
Microsoft Access 2003
47
ใช้ Textbox ประเภท Unbond เพื่อคำนวณค่าใน Form
โดยปกติแล้วเมื่อสร้าง Textbox ขึ้นมาครั้งแรกจะเป็น Unbound ก่อนเสมอ ซึ่งเราจะไม่สามารถใช้ Control
ประเภท Unbound นี้ในการ Update ข้อมูลได้ แต่สามารถที่จะสร้างสูตรเพื่อให้แสดงผลลัพธ์จากการคำนวณ
ของข้อมูลที่มีอยู่ได้ โดยจะสร้างสูตรคำนวณที่ Control Source Properties ซึ่งมีหลักเกณฑ์ในการสร้างสูตรดังนี้
1. ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย =
2. ใช้ชื่อ Control หรือ Field ในการคำนวณ ซึ่งข้อมูลใน Control หรือ Field นั้นๆ จะต้องเป็นตัวเลข
3. ตัวอย่างเช่น =Price * 0.07
กรณีที่แสดงผลออกมาแล้วผลลัพธ์ที่ได้เป็น #Name? แสดงว่าหาชื่อ Control หรือ Field ไม่เจอนั่นเอง
ใช้ Textbox ประเภท Unbound เพื่อเชื่อมต่อข้อความ
เราสามารถนำข้อความจากหลาย Field มาเชื่อมต่อกันให้อยู่ใน Field เดียวกันได้โดยใช้เครื่องหมาย & เป็น
ตัวเชื่อมและจะต้องขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย = เหมือนกันโดยวิธีดังกล่าวจะพิมพ์ไว้ที่ Control Source Properties
เช่นกัน ดังตัวอย่าง =[First Name] & “ “ & [Last Name]
Check Box, Option Button และ Toggle Button
1. ที่ Form Design ให้คลิกปุ่ม Check Box หรือ Option Button หรือ Toggle
Button บน Toolbox
2. คลิกเมาส์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการจะสร้าง Control ดังกล่าว
เปลี่ยนข้อความใน Label ของแต่ละ Control ให้เป็นไปตามที่ต้องการ
Microsoft Access 2003
48
Option Group
สร้างด้วย Wizard
1. ขณะที่อยู่ Form Design ให้สังเกตว่าปุ่ม Control Wizard ที่ Toolbox ยุบลง
หรือไม่ ถ้ายุบแสดงว่ากำลังถูกเรียกใช้งานอยู่แล้ว แต่ถ้ายังไม่ยุบให้คลิกที่ปุ่ม Control Wizard เพื่อจะเรียกใช้
งาน
2. คลิกปุ่ม Option Group บน Toolbox แล้วคลิกเมาส์ตำแหน่งที่ต้องการใน Form
พิมพ์รายการที่ต้องการในช่องว่าง แล้วคลิกปุ่ม Next
3. พิมพ์รายการที่ต้องการในช่องว่าง แล้วคลิกปุ่ม Next
4. กำหนดค่าเริ่มต้นที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม Next
5. ตรวจสอบค่าของแต่ละตัวเลือกที่สร้างขึ้นมาแล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
49
6. กำหนดว่าต้องการเก็บค่าที่เลือกไว้ใน Field ใดหรือไม่แล้วคลิกปุ่ม Next
7. เลือกรูปแบบของตัวเลือกที่ต้องการ
Microsoft Access 2003
50
8. ตั้งชื่อแล้วคลิกปุ่ม Finish
สร้างแบบ Manual
1. ยกเลิกปุ่ม Control Wizard จากนั้นคลิกปุ่ม Option Group บน Toolbox
2. คลิกเมาส์ในตำแหน่งที่ต้องการใน Form
3. เลือกรูปแบบที่จะมาใช้กำหนดเป็นตัวเลือกว่าจะเป็น Check Box, Option Button
หรือ Toggle Button แล้วในไปคลิกภายในบริเวณของ Option Group ที่สร้างไว้แล้ว
4. พิมพ์ข้อความลงในตัวเลือกที่สร้างขึ้นมา
Microsoft Access 2003
51
Combo Box
สร้างด้วย Wizard
1. คลิกปุ่ม Control Wizard บนทูลบาร์ให้ยุบลงไป จากนั้นคลิกปุ่ม Combo Box ที่
Toolbox
2. คลิกเมาส์ในตำแหน่งที่ต้องการใน Form
3. กำหนดว่าต้องการจะนำข้อมูลมาเป็นตัวเลือกจากที่ใด แล้วคลิกปุ่ม Next
4. พิมพ์รายการข้อมูลในช่องว่าง
Microsoft Access 2003
52
5. กำหนดว่าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใน Field ใดหรือจะไม่เก็บ แล้วคลิกปุ่ม Next
6. ตั้งชื่อแล้วคลิกปุ่ม Finish
Microsoft Access 2003
53
Command Button
1. คลิกปุ่ม Control Wizard ให้ทำงาน จากนั้นคลิกปุ่ม Command Button บน Toolbox
2. คลิกเมาส์ใน Form ตรงตำแหน่งที่ต้องการ
3. เลือกหมวดหมู่ของคำสั่งในช่อง Categories และเลือกคำสั่งที่ Actions
4. เลือกว่าต้องการแสดงเป็นข้อความหรือรูปภาพบนปุ่มคำสั่งแล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
54
5. ตั้งชื่อปุ่มคำสั่งแล้วคลิกปุ่ม Finish
Tab
1. คลิกปุ่ม Tab Control ที่ Toolbox แล้วใช้เมาส์คลิกใน Form
2. เปลี่ยนข้อความแต่ละ Page ที่ Caption Properties
เพิ่ม Page
คลิกเมาส์ขวาบริเวณของ Tab Control จากนั้นเลือกคำสั่ง Insert Page
Microsoft Access 2003
55
ลบ Page
คลิกเมาส์ขวาบริเวณของ Page ที่ต้องการจะลบ จากนั้นเลือกคำสั่ง Delete Page
เปลี่ยนลำดับ Page
1. คลิกเมาส์ขวาบริเวณ Tab Control จากนั้นเลือกคำสั่ง Page Order
2. เลือก Page ที่ต้องการจะย้ายลำดับแล้วคลิกปุ่ม Move Up หรือ Move Down ตามที่
ต้องการ
Microsoft Access 2003
56
การสร้างคำอธิบายแต่ละ Control
1. เปิด Properties ของ Control ที่ต้องการสร้างคำอธิบาย (ControlTip Text)
เลือกแถบ All หรือ Others แล้วคลิกในช่อง ControlTip Text แล้วพิมพ์คำอธิบายลงในช่องว่าง
อ้างถึง Control อื่นๆ ใน Form
􀂃 หลักในการอ้างถึงค่าจาก Control อื่นๆ นั้นสามารถทำได้โดยใส่เครื่องหมาย = แล้วตามด้วย
ชื่อ Field ที่ต้องการจะอ้างถึง หรือคลิกปุ่ม
Microsoft Access 2003
57
สร้าง Form จาก Query
ขั้นตอนการสร้าง Form จาก Query เหมือนกันกับการสร้างจาก Table ทุกประการเพียงแต่
ตอนที่เลือกว่าจะสร้าง Form จาก Table หรือ Query เราก็เลือก Query แล้วเลือกชื่อ Query ที่จะนำมา
สร้าง Form
สร้าง Form จาก SQL Statement
ลักษณะการสร้างจะคล้ายๆ กันกับ Query แต่จะช่วยประหยัด Query มากกว่า เพื่อเป็นการ
สร้าง Form ขึ้นมาเฉพาะกิจเท่านั้นเอง โดยเราจะใส่ SQL Statement ไว้ที่ Record Source Properties
ของ Form นั่นเอง
Microsoft Access 2003
58
บทที่ 6 การใช้งาน Report
สร้าง Report แบบ Tabular
1. ขณะอยู่ที่ Database Window ให้คลิกที่ Report จากนั้นคลิกปุ่ม New
2. เลือก Report Wizard แล้วเลือก Table หรือ Query ที่จะนำมาสร้าง Report
3. เลือก Field ที่ต้องการให้แสดงใน Report
4. ต้องการให้มีการจัดกลุ่มของรายงานหรือไม่ ถ้าต้องการให้เลือก Field ที่ต้องการจะจัดกลุ่ม
แต่ถ้าไม่ต้องการให้คลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
59
5. กำหนด Field ที่ต้องการจะให้เรียงลำดับ แล้วคลิกปุ่ม Next
6. เลือกรูปแบบเป็น Tabular แล้วกำหนดแนวการวางกระดาษให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะออก
Report แล้วคลิกปุ่ม Next
7. เลือกรูปแบบที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
60
8. ตั้งชื่อของ Report แล้วคลิกปุ่ม Finish
ส่วนประกอบต่างๆ ของ Report
Report Header & Report Footer
ข้อความในส่วนนี้จะแสดงที่ส่วนหัวและท้ายของ Report ซึ่ง Header จะอยู่หน้าแรก และ Footer จะ
อยู่ที่หน้าสุดท้าย
Page Header & Page Footer
ข้อความในส่วนนี้จะปรากฎอยู่ในทุกๆ หน้าของรายงาน
ใส่เลขหน้าและวันที่แบบอัตโนมัติ
1. คลิกเมนู Insert แล้วเลือก Data and Time กรณีที่ต้องการใส่วันที่และเวลา
2. เลือกตัวเลือกตามที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
3. ถ้าต้องการใส่เลขหน้าให้เลือก Page Numbers หลังจากที่คลิกเมนู Insert
Microsoft Access 2003
61
4. จากนั้นเลือกรูปแบบของเลขหน้าที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
5. หลังจากที่ใส่ Page Numbers หรือ Date and Time แล้วก็ตาม อาจจะไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่ต้องการ
เราสามารถย้ายตำแหน่งของวันที่หรือเลขหน้าได้โดยใช้เมาส์ลาก
สร้าง Report แบบ Group/Total
1. ขณะที่อยู่ใน Database Window ให้คลิกที่ Report แล้วคลิกปุ่ม New
2. เลือก Report Wizard จากนั้นเลือก Table หรือ Query ที่จะนำมาสร้าง Report
3. เลือก Field ที่ต้องการแสดงใน Report แล้วคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
62
4. เลือก Field ที่ต้องการจะ Group (สามารถเลือกได้มากกว่า 1 Field) แล้วคลิกปุ่ม Next
5. เลือก Field ที่ต้องการให้เรียงลำดับแล้วคลิกปุ่ม Next
6. เลือกรูปแบบการวางโครงสร้างของ Report จากนั้นคลิกปุ่ม Next
Microsoft Access 2003
63
7. เลือกรูปแบบของ Report แล้วคลิกปุ่ม Next
8. ตั้งชื่อของ Report แล้วคลิกปุ่ม Finish
Microsoft Access 2003
64
บทที่ 7 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง Table ด้วย Relationships
ความสัมพันธ์ระหว่าง Table ในรูปแบบต่าง ๆ
ความสัมพันธ์แบบ One-to-One
หมายถึง ใน Table หนึ่งมีข้อมูล 1 เรคคอร์ดที่สัมพันธ์กับ 1 เรคคอร์ดของอีก Table หนึ่ง เช่น พนักงาน
1 คนมีอัตราเงินเดือนได้เพียง 1 อัตราเท่านั้น
ความสัมพันธ์แบบ One-to-Many
หมายถึง มีข้อมูล 1 เรคคอร์ดจาก Table หนึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลหลายๆ เรคคอร์ดในอีก Table หนึ่ง
เช่น ลูกค้า 1 คน สามารถซื้อสินค้าได้มากกว่า 1 Order เป็นต้น
ความสัมพันธ์แบบ Many-to-Many
􀂃 ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้า 1 คน สามารถติดต่อกับร้านค้าได้หลายร้าน และในทางกลับกัน ร้านค้า 1 ร้านก็
สามารถติดต่อกับลูกค้าหลายคนได้เช่นกัน ถ้าเป็นในกรณีนี้ Microsoft Access จะทำได้ก็ต่อเมื่อจะต้อง
แปลงให้อยู่ในรูปแบบของ One-to-Many ก่อน+
Microsoft Access 2003
65
ตัวอย่างการออกแบบความสัมพันธ์
ความหมายของแต่ละ Table
Categories: ประเภทของสินค้า
Customer: ประวัติลูกค้า
Employees: พนักงานขาย
Order Details: รายละเอียดของสินค้าในแต่ละ Order
Order: ใบรายการสั่งซื้อสินค้าที่ออกให้ลูกค้า
Products: รายละเอียดของสินค้าแต่ละชนิด
Shippers: ผู้จัดส่งสินค้า
Suppliers: บริษัทตัวแทนจำหน่ายสินค้า
Microsoft Access 2003
66
สร้าง Relationships
วิธีการสร้าง Relationship จะใช้วิธีการสร้างขึ้นมาทีละ 1 คู่เพื่อไม่ให้เป็นการสับสน โดยตัวอย่างของ
Database นี้จะจับคู่ของ Relationship ดังนี้
1. Categories / Products : ประเภทสินค้า 1 ประเภทสามารถมีสินค้าได้หลายรายการ
2. Suppliers / Products : ตัวแทนจำหน่าย 1 ตัวแทนสามารถขายสินค้าได้หลายชนิด
3. Customers / Orders : ลูกค้า 1 คนสามารถซี้อสินค้าได้หลายรายการ
4. Shippers / Orders : ผู้จัดส่งสินค้า 1 คนสามารถส่งสินค้าได้หลายรายการ
5. Employees / Orders : พนักงาน 1 คนสามารถออก Order ได้หลายใบ
6. Orders / Order Details : ใบ Order 1 ใบสามารถมีรายการสินค้าได้หลายรายการ
7. Products / Order Details : สินค้า 1 ชนิดสามารถปรากฎอยู่ใน Order ได้หลายใบ
ขั้นตอนการสร้างมีดังนี้
1. ขณะที่อยู่ใน Database Window คลิกเมนู Tools เลือกคำสั่ง Relationships หรือคลิกปุ่ม
Relationships บนทูลบาร์
2. เลือก Table คู่แรกที่ต้องการให้มีความสัมพันธ์กัน
3. ใช้เมาส์ลากชื่อ Field จาก Table หนึ่งไปยังชื่อ Field ที่สัมพันธ์กันกับอีก Table หนึ่ง
4. เลือกตัวเลือก Enforce Referential Integrity เพื่อให้มีความซื่อสัตย์ระหว่าง Table แล้วคลิกปุ่ม
Create จากนั้นทำขั้นตอนเดิมซ้ำจนกว่าจะครบทุก Table
Microsoft Access 2003
67
แก้ไข/ลบ Relationships
1. ดับเบิลคลิกที่เส้นแสดงความสัมพันธ์แล้วแก้ไข Relationships ตามต้องการแล้วคลิกปุ่ม Create
2. ถ้าต้องการลบให้คลิกเส้นความสัมพันธ์แล้วกดแป้น Delete ที่คีย์บอร์ด
Microsoft Access 2003
68
บทที่ 8 เทคนิคการออกแบบ Database ที่ดี
การแยกเก็บ Database ระหว่าง Table และ Application
1. สร้าง Database ขึ้นมา 1 ไฟล์เพื่อเก็บเฉพาะข้อมูลใน Table เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
2. สร้าง Database ขึ้นมาอีก 1 ไฟล์เพื่อเก็บ Application ซึ่งหมายถึง Query, Form, Report, Macro
หรือ Module
3. ทำการเชื่อมโยง Database เพื่อให้ Table กับ Application ทำงานร่วมกันได้โดยใช้คำสั่ง Link
Link Table
1. เปิด Database ที่เป็น Application ขึ้นมา จากนั้นคลิกเมนู File เลือกคำสั่ง Get External Data แล้ว
เลือก
2. คำสั่งย่อย Link Table เลือกไฟล์ที่เก็บ Table ไว้แล้วคลิกปุ่ม Link
1. เลือกชื่อ Table ที่ต้องการจะ Link แล้วคลิกปุ่ม OK
Microsoft Access 2003
69
2. Table ที่ถูก Link มาจะมีสัญลักษณ์เป็นรูปลูกศรอยู่ด้านหน้า
การแก้ไข Link
1. คลิกเมนู Tools เลือกคำสั่ง Database Utilities จากนั้นเลือกคำสั่งย่อย Link Table
Manager
2. เลือก Table ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไข Link ถ้าต้องการเลือกทั้งหมดให้คลิกปุ่ม Select
All จากนั้นคลิกปุ่ม OK
3. หลังจากนั้นจะมีกรอบแสดงข้อความขึ้นมาบอกว่าการแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว
Microsoft Access 2003
70
Data Splitter Wizard
1. คลิกเมนู Tools เลือกคำสั่ง Database Utilities จากนั้นเลือกคำสั่งย่อย Database Splitter
2. เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการทำงานของ Database Splitter ให้คลิกปุ่ม Split Database
3. เลือกตำแหน่งที่จะเก็บ Database ที่เป็น Table แล้วตั้งชื่อจากนั้นคลิกปุ่ม Split
Microsoft Access 2003
71
4. หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการแบ่งแยกระหว่าง Table กับ Application ออกจากกัน
การ Compact Database
การใช้งาน Database ด้วยโปรแกรม Access นั้น บางครั้งอาจมีการลบข้อมูลบางเรคคอร์ดทิ้งไป
จาก Table หรือลบออปเจ็กต่างๆ ออกไป ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามการลบนี้ไม่ได้หมายความว่าขนาดของ
Database จะลดลงตามไปด้วย ซึ่งเป็นการเปลืองเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์โดยเปล่าประโยชน์ คุณสามารถตัดพื้นที่
ว่างออกไปจาก Database ได้โดยการ Compact Database เพื่อให้ Database นั้นมีขนาดเล็กลง ซึ่งมีขั้นตอน
การทำงานดังนี้
1. คลิกเมนู Tools เลือกคำสั่ง Database Utilities จากนั้นเลือกคำสั่งย่อย Compact and Repair
Database
2. รอสักระยะในขณะที่โปรแกรมกำลังทำงานอยู่
การ Repair Database
การ Repair เป็นการซ่อมแซมส่วนที่เสียของ Database เพื่อให้ใช้งานได้ต่อไป ซึ่งขั้นตอนการ
ทำงานจะควบคู่ไปกับการ Compact Database นั่นเอง
Microsoft Access 2003
72
บทที่ 9 การใช้งาน Query อย่างมีประสิทธิภาพ
Group/Total Query
1. เปิด Query ที่ชื่อ Category Sales for 1997 แบบ Design
2. เพื่อต้องการดูข้อมูลยอดขายของสินค้าแต่ละประเภทเฉพาะในปี ค.ศ. 1997 ให้คลิกปุ่ม
Totals บนทูลบาร์
3. สังเกตเห็นว่าที่ด้านล่างของ Query จะปรากฎแถวของ Group Total ขึ้นมาให้เลือกในช่อง
ของ Category Sales เป็น Sum
การใช้งาน Action Query
Make Table Query
1. สร้าง Query แบบ Design จาก Table Product โดยเลือกทุก Field
2. กำหนดเงื่อนไขที่ Category ID เฉพาะประเภทที่ 1
3. จากนั้นคลิกปุ่ม Query Type แล้วเลือก Make-Table Query
Microsoft Access 2003
73
4. พิมพ์ชื่อ Table ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
5. คลิกปุ่ม Run โปรแกรมจะทำการสร้าง Table ใหม่ให้ตามที่ได้กำหนดไว้
Append Table Query
1. กำหนดเงื่อนไขใน Query ตามที่ต้องการจากนั้นคลิกเมนู Query เลือกคำสั่ง Append Query
2. กำหนดว่าต้องการจะเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปเพิ่มใน Table ใด
3. คลิกปุ่ม Run จากนั้นโปรแกรมจะนำข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ไปเพิ่มใน Table
ดังกล่าว
Delete Query
1. สร้าง Query แบบ Design จากนั้นกำหนดเงื่อนไขของข้อมูลที่ไม่ต้องการใน Query หรือ
Table นั้น ๆ เพื่อจะทำการลบทิ้ง
2. คลิกเมนู Query เลือกคำสั่ง Delete Query
3. คลิกปุ่ม Run โปรแกรมจะทำการลบข้อมูลตามเงื่อนไขที่กำหนด
Microsoft Access 2003
74
บทที่ 10 การใช้งาน Mainform / Subform
Mainform / Subform
เป็นการสร้าง Form 1 Form เพื่อแสดงข้อมูลมากกว่า 1 Table และ Table ที่จะแสดงข้อมูลใน Form
บนหน้าจอเดียวกันจะต้องมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่ความสัมพันธ์ระหว่าง Mainform กับ Subform
นั้นก็จะเหมือนกันกับความสัมพันธ์แบบ One-to-Many ซึ่ง One คือ Mainform และ Many คือ Subform
ประโยชน์ของ Mainform/Subform
1. เพื่อดูข้อมูลที่สัมพันธ์กันในหน้าจอเดียวกันได้
2. สามารถป้อนข้อมูลได้ทั้งใน Mainform และ Subform ซึ่งจะทำให้ลดเวลาในการป้อนข้อมูลอีกด้วย
สร้างด้วย Wizard
1. เปิด Form Category ขึ้นมาแบบ Design
2. คลิกปุ่ม Control Wizard ให้ทำงาน
3. คลิกปุ่ม Subform/Subreport จากนั้นนำเมาส์ไปคลิกในบริเวรพื้นที่ว่างของ Form
4. ระบุประเภทและชื่อของออปเจ็กที่จะ Link เข้ามาใน Subform Control ใน Form นี้ แล้วคลิก
ปุ่ม Next
5. กำหนดว่าจะให้โปรแกรมหา Field ที่ Link กันระหว่าง Mainform และ Subform ให้หรือเรา
จะเป็นผู้ Link เอง
Microsoft Access 2003
75
ตั้งชื่อแล้วคลิกปุ่ม Finish
Microsoft Access 2003
76
บทที่ 11 การใช้งาน Macro
หลักการของ Event Driven Programming
เป็นการเขียนโปรแกรมหรือ Code ควบคู่กับเหตุการณ์ของออปเจ็ก ซึ่งโปรแกรมหรือ Code จะทำงานก็
ต่อเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับออปเจ็กนั้นๆ โดยส่วนประกอบจะมีดังนี้คือ
Object
เช่น Control ที่ถูกสร้างขึ้นมาใน Form ที่สามารถนำมาเขียนมาโครได้เช่น Command Button เป็นต้น
Event
เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับออปเจ็ก เช่น การคลิกเมาส์, การดับเบิลคลิก, หรือการชี้เมาส์เป็นต้น
Action
ชุดคำสั่งที่ให้ทำงานเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับออปเจ็ก
ความหมายและประโยชน์ของ Macro
เป็นชุดของคำสั่งใน Microsoft Access ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทำงานโดยอัตโนมัติแทนการทำงานที่ซ้ำๆ กัน หรือ
ลดขั้นตอนในการทำงานนั่นเอง
สร้าง Macro ด้วย Macro Builder
1. ขณะที่อยู่ที่ Form Design ดับเบิลคลิก Control ที่ต้องการจะสร้าง Macro เพื่อเปิด Properties
Window ขึ้นมา
2. คลิกแถบ Event ใน Properties Windows จากนั้นคลิกเมาส์ในช่องเหตุการณ์ที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม
3. เลือก Macro Builder แล้วคลิกปุ่ม OK
Microsoft Access 2003
77
4. ตั้งชื่อ Macro ที่ต้องการแล้วคลิกปุ่ม OK
5. เลือก Action ที่ต้องการให้ Macro ทำงานเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
6. กำหนดออปเจ็กที่จะมารองรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่อง Item
7. กำหนดค่าที่จะให้เกิดขึ้นกับออปเจ็กนั้นๆ ในช่อง Expression
Microsoft Access 2003
78
Example
ต้องการให้หลังจากคลิกปุ่ม CLICK HERE แล้วให้แสดงคำว่า “Hello Hello” ในช่องว่างที่
ชื่อว่า TextboxDisplay
TextboxDisplay = “Hello Hello”
Action = Setvalue (=)
Item = TextboxDisplay
Expression = “Hello Hello”
8. คลิกปุ่ม Save แล้วปิดหน้าต่างของ Macro Builder
9. ที่ Form ให้คลิกปุ่ม Form View แล้วลองทดสอบว่า Macro ที่สร้างคู่กับปุ่มคำสั่งสามารถใช้งานได้
หรือไม่
สร้าง Macro จากคำสั่ง New Macro ที่ Database Window
1. ที่ Database Window ให้คลิก Macro แล้วคลิกปุ่ม New
2. จากนั้นกำหนด Action, Item, Expression หรือรายละเอียดต่างๆ ตามที่ต้องการ
3. เปิด Form ที่ต้องการจะ Assign Macro ให้คู่กับ Control ใน Form นั้นๆ แบบ Design
4. คลิก Control ที่ต้องการแล้วเปิด Properties ของ Control นั้นๆ ขึ้นมา
5. เลือกเหตุการณ์และกำหนด Macro ที่สร้างไว้ให้ควบคู่กับเหตุการณ์นั้นๆ
แก้ไข Macro
1. ขณะที่อยู่ใน Macro ที่ Database Window ให้เลือก Macro ที่ต้องการจะแก้ไขแล้วคลิกปุ่ม
Design
2. แก้ไขรายละเอียดของ Macro ตามที่ต้องการ หลังจากนั้นคลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกมาโคร
ภาคผนวก
การติดตั้ง Microsoft Office Access 2003
สำหรับโปรแกรม Microsoft Office Access 2003 นี้เป็นโปรแกรมหนึ่งที่บรรจุ
อยู่ในชุดโปรแกรม Microsoft Office 2003 ซึ่งในส่วนของการติดตั้งนั้น เราสามารถเลือกได้
ว่า เราจะทำการติดตั้งชุดโปรแกรมทั้งหมด หรือจะติดตั้งเฉพาะในส่วนของโปรแกรมที่ต้องการ
ซึ่งการติดตั้งโปรแกรมในแต่ละประเภทนั้นมีวิธีการดังนี้
การติดตั้งโปรแกรมเฉพาะโปรแกรมที่ต้องการ
สำหรับในการติดตั้งชุดโปรแกรม Microsoft Office นั้น เราสามารถเลือกติดตั้งเฉพาะ
ในส่วนของโปรแกรมที่ต้องการได้ อย่างเช่นถ้าต้องการติดตั้งเฉพาะโปรแกรม Microsoft
Access ก็สามารถทำได้ดังนี้
1. ใส่แผ่น CD-ROM ของ Microsoft Office 2003 ลงไปในไดร์ฟซีดีรอมเพื่อทำการ
ติดตั้งโดยอัตโนมัติ
2. จะปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ Microsoft Office Setup เพื่อเตรียมการติดตั้งโปรแกรม
3. กรอกรหัส Serial Number ซึ่งเป็นรหัสของแผ่นโปรแกรมในแต่ละแผ่นที่ประกอบด้วย
ตัวเลขและตัวอักษร 25 ตัว ลงในช่อง Product Key
4. คลิกปุ่ม
2
1
5. พิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้ (User name), ชื่อองค์กร (Organization)
6. คลิกปุ่ม
7. คลิกที่ ฉันยอมรับตามข้อความในข้อตกลงสิทธิบัตรนี้ เพื่อยอมรับลิขสิทธิ์ของโปรแกรม
8. คลิกปุ่ม
9. คลิกเลือกประเภทของการติดตั้งแบบ Custom install เพื่อเลือกเฉพาะโปรแกรมที่ต้องการ
10. คลิกเลือกตำแหน่งที่จะนำโปรแกรมไปจัดเก็บ ซึ่งสามารถทำการค้นหาได้ด้วยการ
คลิกปุ่ม
6
5
7 8
11. คลิกปุ่ม
12. คลิกเลือกที่ช่อง Access
13. คลิกปุ่ม
14. จะปรากฏชื่อโปรแกรม Access
9
11
10
12
13
15. คลิกปุ่ม
16. จะปรากฏสถานการณ์ติดตั้งโปรแกรม
16
15
14
17. คลิกปุ่ม เมื่อสิ้นสุดการดาวน์โหลดโปรแกรม
เพียงเท่านี้เราก็สามารถเข้าไปใช้งานในโปรแกรมที่เราต้องการได้
17

PHP คืออะไร

PHP (PHP Hypertext Preprocessor)

ความเป็นมา

PHP เกิดในปี 1994 โดย Rasmus Lerdorf โปรแกรมเมอร์ชาวสหรัฐอเมริกาได้คิดค้นสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาเว็บส่วนตัวของเขา โดยใช้ข้อดีของภาษา และ Perl เรียกว่า Personal Home Page และได้สร้างส่วนติดต่อกับฐานข้อมูลชื่อว่า Form Interpreter ( FI ) รวมทั้งสองส่วน เรียกว่า PHP/FI ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นของ PHPมีคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเขาแล้วเกิดชอบจึงติดต่อขอเอาโค้ดไปใช้บ้าง และนำไปพัฒนาต่อ ในลักษณะของ Open Sourceภายหลังมีความนิยมขึ้นเป็นอย่างมากภายใน ปีมีเว็บไซต์ที่ใช้ PHP/FI ในติดต่อฐานข้อมูลและแสดงผลแบบ ไดนามิกและอื่นๆ มากกว่า 50000 ไซต์
PHP เป็นภาษาสคริปต์ที่ประมวลผลที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ แล้วส่งผลลัพธ์ไปแสดงผลที่ฝั่งไคลเอ็นต์ผ่านบราวเซอร์เช่นเดียวกับ CGI และASP ต่อมาเมื่อมีผู้ใช้มากขึ้นจึงมีการร้องขอให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของ PHP/FI ให้สูงขึ้น Rasmus Lerdorf ก็ได้ผู้ที่มาช่วยพัฒนาอีก 2 คนคือ Zeev Suraski และ Andi Gutmans ชาวอิสราเอล ซึ่งปรับปรุงโค้ดของ Lerdorf ใหม่โดยใช้ C++ ต่อมาก็มีเพิ่มเข้ามาอีก 3 คน คือ Stig Bakken รับผิดชอบความสามารถในการติดต่อ Oracle, Shane Caraveo รับผิดชอบดูแล PHP บน Window 9x/NT, และ Jim Winstead รับผิดชอบการตรวจ ความบกพร่องต่างๆ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น Professional Home Page
PHP3 ได้ออกสู่สายตาของนักโปรแกรมเมอร์เมื่อ มิถุนายน 1998 ที่ผ่านมาในเวอร์ชั่นนี้มีคุณสมบัติเด่นคือสนับสนุนระบบปฏิบัติการทั้ง Window 95/98/ME/NT, Linux และเว็บเซร์ฟเวอร์ อย่าง IIS, PWS, Apache, OmniHTTPdสนับสนุน ระบบฐานข้อมูลได้หลายรูปแบบเช่น SQL Server, MySQL, mSQL, Oracle, Informix, ODBC
เวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุบันคือ PHP4 ซึ่งได้เพิ่ม Functions การทำงานในด้านต่างๆให้มากและง่ายขึ้นโดย Zend ซึ่งมีZeev และ Andi Gutmans ได้ร่วมก่อตั้งขึ้น http://www.zend.com ) ในเวอร์ชั่นนี้จะเป็น compile script ซึ่งในเวอร์ชั่นหน้านี้จะเป็น embed script interpreter ในปัจจุบันมีคนใช้ PHP สูงกว่า 5,100,000 sites แล้วทั่วโลก ผู้พัฒนาได้ตั้งชื่อของง PHP ใหม่ว่า PHP: Hypertext Preprocessor ซึ่งหมายถึงมีประสิทธิภาพระดับโปรเฟสเซอร์สำหรับไฮเปอร์เท็กซ์
  ความสามารถของ PHP นั้นในความสามารถพื้นฐานที่ภาษาสคริปต์ทั่วๆไปมีนั้น PHP ก็มีความสามารถทำได้ทัดเทียมเช่นเดียวกันเช่น การรับข้อมูลจากฟอร์มการสร้าง Content ในลักษณะ Dynamic, รับส่ง Cookies, สร้างเปิดอ่าน และปิดไฟล์ในระบบการรองรับระบบจัดการฐานข้อมูลมากมายดังนี้
Adabas D
Ingres
Oracle (OCI7 and OCI8)
Dbase
InterBase
Ovrimos
Empress
FrontBase
PostgreSQL
FilePro (read-only)
mSQL
Solid
Hyperwave
Direct MS-SQL
Sybase
IBM DB2
MySQL
Velocis
Informix
ODBC
Unix dbm
      แต่ตัวจัดการฐานข้อมูลที่ทาง NINETO E-MAGAZINE ONLINE เลือกมาใช้ในบทความนี้คือ MySQL เหตุที่เลือกตัวนี้คือ เป็นที่นิยมกว้างขว้างและประเด็นหนึ่งที่จะต้องพิจารณาคือ Free เพราะ MySQL จัดเป็น Software ประเภทFreeware รองรับ OS ได้หลายระบบด้วยกัน ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้า Download ซึ่งเราได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว
      Protocol Support ความสามารถในการรองรับโปรโตคอลหลายแบบทั้ง IMAP, SNMP, NNTP, POP3, HTTP และยังมีไลบารีสำหรับติดต่อ กับแอพพลิเคชั่นได้มากมาย มีความยืดหยุ่นสูงสามารถนำไปสร้างแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย และอีกข้อดีหนึ่งที่โดเด่นคือของ PHP ก็คือสามารถแทรกลงในแท็ก HTML ในตำแหน่งใดก็ได้

จะใช้ PHP ต้องมีอะไรบ้าง

เนื่องจากว่า PHP ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของตัว Web Server ดังนั้นถ้าจะใช้ PHP ก็จะต้องดูก่อนว่า Web server นั้นสามารถใช้สคริปต์ PHP ได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น PHP สามารถใช้ได้กับ Apache WebServer และ Personal Web Server (PWP) สำหรับระบบปฏิบัติการ Windows 95/98/NT
ในกรณีของ Apache เราสามารถใช้ PHP ได้สองรูปแบบคือ ในลักษณะของ CGI และ Apache Module ความแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า ถ้าใช้ PHP เป็นแบบโมดูล PHP จะเป็นส่วนหนึ่งของ Apache หรือเป็นส่วนขยายในการทำงานนั่นเอง ซึ่งจะทำงานได้เร็วกว่าแบบที่เป็น CGI เพราะว่า ถ้าเป็น CGI แล้ว ตัวแปลชุดคำสั่งของ PHP ถือว่าเป็นแค่โปรแกรมภายนอก ซึ่งApache จะต้องเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้ง ที่ต้องการใช้ PHP ดังนั้น ถ้ามองในเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน การใช้PHP แบบที่เป็นโมดูลหนึ่ง
ของ Apache จะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

 

รูปแบบการเขียน PHP

การเขียนโค้ด เราสามารถเขียนได้จากโปรแกรม Editor ทั่วไปเช่น Notepad หรือ Editplus แน่นอนที่สะดวกที่สุดคงจะไม่พ้น Notepad เพราะแถมมากับ window อยู่แล้ว แต่ถ้าต้องการความสามารถและ Options ที่เพิ่มขึ้นก็แนะนำว่าโปรแกรมEditplus ใช้ได้ดีทีเดียว
รูปแบบการเขียน PHP เขียนได้ 4 แบบดังตัวอย่าง ที่นิยมคือแบบที่ 1 และ 2 แบบที่ 3 ใช้งานคล้ายกับ Java script  ส่วนแบบที่ 4 ตัว tag <% จะเหมือนกับ ASP โดยเมื่อรันจะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน และสามารถแทรกลงในส่วนของภาษา HTML ส่วนใดก็ได้
1.การเขียนโค้ดในรูปแบบภาษา SGML จะมีรูปแบบดังนี้
   <?
               
คำสั่งในภาษา PHP ;
   
?>
2. การเขียนโค้ดเพื่อใช้ร่วมกับภาษา XHTML หรือ XML (แต่สามารถใช้ใน HTML แบบปกติได้จะมีรูปแบบดังนี้
    <?php
                    
คำสั่งในภาษา PHP ;
     ?>
3. การเขียนโค้ดในรูปแบบ JavaScript จะมีรูปแบบดังนี้
     <Script Language="php">
                  
คำสั่งในภาษา PHP ;
     </Script>
4. การเขียนโค้ดในรูปแบบ ASP จะมีรูปแบบดังนี้
    <%
            
คำสั่งในภาษา PHP ;
     %>
สำหรับรูปแบบที่ 4 จะใช้ได้กับ PHP 3.0.4 ขึ้นไป และจะต้องไปแก้ไฟล์ php.ini ในโฟลเดอร์ C:WINDOWS เสียก่อนโดยให้ asp_tags มีค่าเป็น On

การเขียนสคริปต์ PHP ในรูปแบบใดก็ตามจะต้องมีเครื่องหมาย semicolon ( ; ) ลงท้ายคำสั่งเสมอเหมือนกับการเขียนภาษา Cกับภาษา Perl และคำสั่งหรือฟังก์ชั่นในภาษา PHP จะเขียนด้วยตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ก็ได้ ( case-insensitive )การจบ statement หรือสิ้นสุด script เราจะปิดท้ายสคริปต์ด้วยแท็ก ( ?> และคำสั่งสุดท้ายในสคริปต์นั้นจะลงท้ายด้วยsemicolon ( ; ) หรือไม่ก็ได้เพราะจะถูกปิดด้วยแท็ก ?> ) อยู่แล้ว

นอกจากรูปแบบแล้ว การวาง code ผสมกับ HTML ก็เป็นวิธีหนึ่ง
<html>
<head>
<title>Example</title>
</head>
<body>
<?php
        echo "Hi, I'm a PHP script!";
?>
</body>
</html>

 

Comment (การเขียนคำอธิบายโปรแกรม)

การเขียนโปรแกรมที่มีความยาวและซับซ้อนมากๆอาจจะทำให้สับสนในภายหลังได้ วิธีที่นิยมกันก็คือการเขียนคำอธิบายไว้ท้ายคำสั่งนั้นๆ หรือที่เรียกกันว่า comments ใน PHP จะสามารถเขียนในรูปแบบของภาษา C, C++ และ Unix shell-style comments ได้โดยจะไม่นำมาประมวลผล จะเห็นแค่ใน souce code เท่านั้น
รูปแบบ
<?php
echo "This is a test";         // comment  แบบ C++

/* แบบนี้เป็นการ comments 
แบบหลายบรรทัด จะใช้ในกรณี
ที่คำอธิบายเยอะ*/

echo "This is yet another test";
echo "One Final Test";      # comment แบบ Unix shell-style
?>

ข้อควรระวัง PHP ไม่รับ Comment แบบ nest
<?php
/*
echo "This is a test"; /* comment ตัวนี้จะมีปัญหา */
*/
?>

คำสั่งแสดงผล

เราสามารถใช้คำสั่งเพื่อแสดงผลได้ 3 แบบคือ
          1. echo
          2. print
          3. printf

1. คำสั่ง echo จะสามารถแสดงได้หลายประเภท เช่น

<?php
             echo 
ทดสอบการใช้คำสั่ง echo ";
?>
นี่เราลองมาดูความสามารถอีกอย่างของคำสั่ง echo กันคือความสามารถในการแยกนิพจน์ หรือค่าตัวแปรได้ โดยจะใช้เครื่องหมาย ,คั่น
<?php
echo 
ทดสอบการใช้คำสั่ง echo<br> " ;
echo " <b>10+20 = " , 15+15 , "</b>" ;
?>
สังเกตคำสั่ง echo "<b> 10+20 = " , 15+15 , "</b>" ; ผมได้ใช้เครื่องหมาย , คั้นระหว่าง "<b> 10+20 =" และ "</b>" ไว้เพื่อให้โปรแกรมแยกส่วนที่เราต้องการให้มันแสดงออกทางหน้าแบบธรรมดากับส่วนที่เราต้องการให้โปรแกรมทำการคำนาณให้เรานั้นคือ 15+15 เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่า 30 โปรแกรมจะนะค่าที่ได้จากการคำนวณมาแสดงแทน ส่วนแท็ก<br> และ <b>...</b> นั้นเป็นแท็ก HTML ธรรมดาซึ่งผมใส่ไว้เพื่อทำให้การแสดงผลสวยงามขึ้น
<?php
echo "
ทดสอบการใช้คำสั่ง echo " ;echo " 10+20 = " , 15+15 ;
?>
2. คำสั่ง print<?php
print 
ทดสอบการใช้คำสั่ง print " ;
?>

3. คำสั่ง printf

ในการใช้คำสั่ง printf เราจะต้องทราบชนิดของข้อมูลที่เราต้องการแสดงออกมาว่าเป็นชนิดใด เราจะได้กำหนดค่าลงไปถูงต้องดังนี้
         %d     ตัวเลข
        %o       เลขฐานแปด
        %c       ข้ออักษร ( 1 ตัว )
        %s       ข้อความ
        %f       ทศนิยม
<?php
            
printf ( " 15+15 = %d <br> " , 15+15) ;
            
printf ( " 20/3 = %d <br> " , 20/3 ) ;
           
 printf ( " 20/3 = %f <br> " , 20/3 ) ;
?>
สังเกตคำสั่งที่ 2 และ 3 ให้ดีนะครับ เราได้ใช้ตัวคำนวณเหมือนกันแต่กำหนดชนิดของข้อมูลไม่เหมือนกัน โดยคำสั่งที่ ผมได้กำหนดชนิดข้อมูลเป็น %d แต่ในคำสั่งที่ ได้กำหนดชนิดเป็น %f ผลที่ได้ก็จะแตกต่างการกันครับ

 

String

แบ่งตามลักษณะตัวปิดแบ่งออกเป็น 3 แบบคือ
• single quoted
• double quoted
• heredoc syntax (ไม่อธิบาย)

single quoted

ตัวแปร ที่อยู่ภายใต้ single quoted ถือเป็นข้อความด้วย
echo ’this is a simple string’;
echo ’You can also have embedded newlines in strings,
like this way.’;
echo ’Arnold once said: "I’ll be back"’;   // output: ... "I’ll be back"
echo ’Are you sure you want to delete C:*.*?’;      // output: ... delete C:*.*?
echo ’Are you sure you want to delete C:*.*?’;        // output: ... delete C:*.*?
echo ’I am trying to include at this point: a newline’; // output: ... this point: a newline

double quoted

การใช้ double quoted สามารถใช้ร่วมกับ escaped characters ได้ดังตาราง

Escaped characters sequence meaning
linefeed (LF or 0x0A (10) in ASCII)
carriage return (CR or 0x0D (13) in ASCII)
horizontal tab (HT or 0x09 (9) in ASCII)
backslash
$
dollar sign
"
double-quote
[0-7]{1,3}
the sequence of characters matching the regular expression is a character in octal notation
x[0-9A-Fa-f]{1,2}
the sequence of characters matching the regular expression is a character in hexadecimal notation

ข้อควรระวังในการใช้ งาน
$beer = ’Heineken’;
echo "$beer’s taste is great"; // works, "’" is an invalid character for varnames
echo "He drunk some $beers"; // won’t work, ’s’ is a valid character for varnames
echo "He drunk some ${beer}s"; // works

Simple syntax
$fruits = array( ’strawberry’ => ’red’ , ’banana’ => ’yellow’ );
echo "A banana is $fruits[banana].";
echo "This square is $square->width meters broad.";
echo "This square is $square->width00 centimeters broad."; // won’t work,
// for a solution, see the complex syntax.

Complex syntax
$great = ’fantastic’;
echo "This is { $great}"; // won’t work, outputs: This is { fantastic}
echo "This is {$great}"; // works, outputs: This is fantastic
echo "This square is {$square->width}00 centimeters broad.";
echo "This works: {$arr[4][3]}";
echo "This is wrong: {$arr[foo][3]}"; // for the same reason
// as $foo[bar] is wrong outside a string.
echo "You should do it this way: {$arr[’foo’][3]}";
echo "You can even write {$obj->values[3]->name}";
echo "This is the value of the var named $name: {${$name}}";

ตัวอย่างการใช้งาน String
<?php
$str = "This is a string";    /* การกำหนดค่าให้กับ string. */

$str = $str . " with some more text";        /* ต่อข้อความกับตัวแปร */

$str .= " and a newline at the end. "; /* ต่อข้อความกับตัวแปร อีกรูปแบบหนึ่ง และใช้ escaped newline. */

/* This string will end up being ’<p>Number: 9</p>’ */
$num = 9;+

$str = "<p>Number: $num</p>";

/* This one will be ’<p>Number: $num</p>’ */
$num = 9;
$str = ’<p>Number: $num</p>’;

/* Get the first character of a string */
$str = ’This is a test.’;
$first = $str{0};

/* Get the last character of a string. */
$str = ’This is still a test.’;
$last = $str{strlen($str)-1};
?>

Variable scope

        PHP โดยส่วนใหญ่ตัวแปรจะเป็นแบบ Single scope ดังแสดงตามตัวอย่าง
$a = 1;
include "b.inc";


ตัวอย่าง การใช้ตัวแปร global และ local
แบบที่1 ตัวแปร มีค่าต่างกัน
$a = 1; /* global scope */
Function Test () {
echo $a; /* reference to local scope variable */
}
Test ();